ค้นหา >

 

ค้นหา

 








ค้นหาอำเภอ >>  จังหวัด:    อำเภอ:  

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด

 

 ชื่อโครงการ

สถานที่ติดต่อดูงาน

 ข้อมูลผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด  ที่ว่าการอำเภอเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด
รายละเอียดโครงการ: ข้อมูลผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด     จังหวัดร้อยเอ็ด

1.   สภาพทั่วไปของครัวเรือนที่คัดเลือกมา
จากสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว นายอนันต์  อ่อนพฤกษ์ภูมิ  อายุ  60 ปี บ้านเลขที่ 86   หมู่ที่  7  บ้านปอภาร  ตำบลปอภาร  ซึ่งเป็นผู้จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ (ส.ย.6)  หนี้สิน ลำดับที่  38 เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 3 - 4501 - 00322 - 28 - 1 พบว่าสภาพความเป็นอยู่ของ นายอนันต์  อ่อนพฤกษ์ภูมิ  มีบ้านพักอาศัยอยู่ในสภาพที่พออาศัยได้ เป็นบ้านชั้นเดียวมุงหลังคาด้วยสังกะสี  ใช้ไม้ทำเป็นฝาบ้าน  แต่สภาพอยู่ในลักษณะชำรุดมีที่ดินปลูกบ้านเพียง  1  งานเศษเท่านั้น  มีภรรยาชื่อ นางสุดใจ  อ่อนพฤกษ์ภูมิ  อายุ  57  ปี  มีบุตรที่อยู่ด้วยกัน  2  คน  เป็นชาย  1  คน  หญิง  1   คน  รวมครอบครัว นายอนันต์  อ่อนพฤกษ์ภูมิ  ปัจจุบันอยู่ด้วยกัน  4  คน  อาชีพหลักทำนา    ซึ่งมีที่นาพอประกอบอาชีพได้เพียง   4   ไร่   3   งาน   เท่านั้นเอง  อาชีพรอง  คือ  เป็นช่างเหล็ก
ซ่อมแซมบ้านและส่วนที่เป็นเหล็กที่ นายอนันต์  มีความชำนาญหาเลี้ยงครอบครัวมาโดยตลอด นอกจากอาชีพหลักและอาชีพรองแล้ว  นายอนันต์  อ่อนพฤกษ์ภูมิ  ซึ่งเป็นคนขยันมั่นเพียรเป็นนิสัยอยู่แล้วได้ทำการปลูกพืชผักสวนครัวในบริเวณพื้นที่ดินในบริเวณบ้านและเลี้ยงสุกร  เป็ดไก่ และยังเป็นบุคคลที่ชอบช่วยเหลือสังคมชุมชนอยู่เสมอรวมทั้งเป็นอาสาสมัครไวทยากรวัดประจำหมู่บ้านปอภารอีกด้วย  นอกจากนั้น  นายอนันต์   อ่อนพฤกษ์ภูมิ   ยังเป็นคนชอบไฝ่รู้มักอาสาสมัครเข้ารับการประชุมฝึกอบรมตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน เพื่อนำเอาแนวทางและวิชาการจากทุกภาคส่วนมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง  ครอบครัว และชุมชนของตนเองอยู่เสมอ  นายอนันต์  - อ่อนพฤกษ์ภูมิ  เป็นบุคคลที่เปิดตัวเองเพื่อรองรับสิ่งใหม่ ๆ  มาประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่น ๆ  โดยได้น้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครอบครัว  ได้จัดทำแนวทฤษฎีของพระองค์ท่านมาดำเนินการในพื้นที่นาของตนเองจนประสบผลสำเร็จ พอมีพอกิน กินดีอยู่ดี  ที่เหลือนำไปจำหน่ายที่ตลาดนัดประจำหมู่บ้านทุกวันอังคาร  และมีรายได้เพิ่มขึ้น  จนสามารถเลี้ยงครอบครัวตนเองให้อยู่ดีมีสุข    ปัจจุบันขอถอนตัวไม่ต้องการความช่วยเหลือจากการจดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการแล้ว  และเป็นครอบครัวที่ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ปี 2547  เป็นต้นมา   สภาพความเป็นอยู่ของนายอนันต์  อ่อนพฤกษ์ภูมิ  เป็นครอบครัวพออยู่  พอกิน  กินดีมีสุข  และเป็นตัวอย่างแก่ครอบครัว อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
2. สภาพปัญหาของครัวเรือนที่ประสบอยู่
2.1  ขาดแรงงานในการประกอบอาชีพที่เพียงพอ
2.2  ขาดเงินทุนในการส่งเสริมอาชีพที่มีความถนัด
2.3  ขาดเครื่องมือเครื่องใช้ในการส่งเสริมอาชีพที่ทันสมัย
2.4  เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพยังไม่ดีพอ
2.5  พื้นที่ทำกินน้อยไม่เพียงพอ

3.  แนวคิดการจัดการแก้ไขปัญหา
3.1  จากสภาพปัญหาที่พบในครอบครัว ของนายอนันต์   อ่อนพฤกษ์ภูมิ  ที่ประสบอยู่เป็นปัญหาแรงงานในการประกอบอาชีพหลัก  นายอนันต์  ได้ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยขอแรงเพื่อนบ้านข้างเคียงไปช่วยในการทำนา  ทำสวน   ทำไร่  เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหมดสิ้นไป
3.2   ปัญหาด้านเงินทุนในการประกอบอาชีพ  ได้แก้ไขโดยการขอกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน เงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)  เงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  และงบสนับสนุนจากภาครัฐ  รวมทั้งเงินทุนขององค์การบริหารส่วนตำบล  สนับสนุนในการแก้ไขปัญหาจนบรรลุผลสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี
3.3  ปัญหาด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ  ส่วนใหญ่ ครอบครัวนี้จะมีเครื่องมือในการประกอบอาชีพอยู่บ้างแล้ว   บางส่วนเป็นเครื่องมือด้านช่างเหล็ก  และเครื่องมือด้านการเกษตรรถไถนาเดินตาม  เป็นต้น
                     3.4 ปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ ครอบครัวนี้  อาศัยเป็นคนขยันมีความตั้งใจใฝ่รู้ชอบอาสาสมัครเข้ารับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีทั้งภายในและภายนอกหมู่บ้านจากทุกภาคส่วนที่จัดให้มีการประชุมชี้แจง  เช่นเทคโนโลยีด้านการเกษตร  การจัดทำปุ๋ยชีวภาพ  การพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้น
                     3.5 ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ทำกินมีน้อย  ครอบครัวนายอนันต์  ได้แก้ไขโดยการปลูกพืชผักสวนครัว  และพืชไร่ที่มีอายุสั้นสามารถก่อให้เกิดรายได้ในรอบปีหลายครั้ง  โดยไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างโดยไม่ได้ทำประโยชน์ซึ่งใช้หลักแนวทางทฤษฎีใหม่นำมาเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายไให้แก่ครอบครัว
3. วิธีดำเนินงานของ  ศตจ.อ.เมืองร้อยเอ็ด
ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนของ ศตจ.อ. เมืองร้อยเอ็ด  โดยนายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด  ได้จัดตั้งคณะทำงานจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ  และภาคเอกชน  ทำการสำรวจข้อมูลครัวเรือนที่จดทะเบียนทุกครัวเรือน  โดยใช้แบบ  Family  Folder  สมุดบันทึกการแก้ไขปัญหาความยากจนรายครัวเรือน  จนสามารถสรุปภาพรวมได้โดยรวมในการจดทะเบียนทั้งหมด  23,938  คน  จากสภาพปัญหา ที่  1 - 8  มีครัวเรือนขอถอนทุกความช่วยเหลือ 22,333  ครัวเรือน และมีครัวเรือนที่มีปัญหาจริง ๆจำนวน  1,605  ปัญหา จำนวน  1,001 ครัวเรือน ที่ ศตจ.อ. เมืองร้อยเอ็ด  จะต้องทำการแก้ไขปัญหา โดยธนาคารทั้ง  5  แห่ง ธกส.   ออมสิน  กรุงไทย  ธอส.  SMEได้ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน ส่วนใหญ่ จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับหนี้สิ้น สย. 6 มากที่สุด ขณะนี้ทางธนาคารทั้ง   5  แห่ง  ได้ช่วยเหลือแล้วคิดเป็นร้อยละ  26.6 %    คณะทำงานในระดับอำเภอได้จัดให้มีการส่งเสริมอาชีพแก่ครัวเรือนที่ประสบปัญหาที่พบมากที่สุด คือ  ปัญหาหนี้สิ้น (สย.6)  โดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่โดยตรง  เช่น  สำนักงานพัฒนาชุมชน   สำนักงานเกษตร  สำนักงานปศุสัตว์  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  รวมทั้ง อบต.   อบจ.  ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด  และองค์กรเอกชนได้ให้ความช่วยเหลือครัวเรือน  อยู่เป็นประจำ คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือครัวเรือนที่มีปัญหาด้านต่าง ๆ  ลงได้  อย่างน้อย  400  ครัวเรือนจากครัวเรือน  ทั้งหมด  1,001   ครัวเรือน   หรือ  40 %  ในปี  2549  นี้  ได้อย่างแน่นอน 
ดังนั้น  การแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมดทุกภาคส่วน  ที่เป็นคณะทำงานได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนรู้จักช่วยเหลือตนเอง   โดยใช้แนวทาง   3  พ.เศรษฐกิจพอเพียง    มีความสุขพอเพียง   ครอบครัวอบอุ่นพอเพียง    ซึ่งได้สร้างจิตสำนึกให้เกิดแก่ครอบครัวที่มีปัญหาได้จัดชุดปฏิบัติการเข้าไปเยี่ยมเยียนเคาะประตูบ้าน    รับทราบปัญหาให้กำลังใจ กระตุ้นให้เกิดทัศนคติที่ดี  มีทักษะ  ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและร่วมหาทางออกให้แก่ครอบครัวเหล่านี้ด้วย  ประการสำคัญให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง    ให้มีความขยันหมั่นเพียร   พึ่งพาซึ่งกันและกัน   มีความรักความสามัคคี   โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่ตั้ง   ให้เกิดความกินดีอยู่ดี   มีงานทำ   สร้างงานสร้างอาชีพ   สร้างรายได้   และขยายโอกาส  ให้บุคคลที่ด้อยโอกาส  ได้เข้าถึงแหล่งทุนโดยทั่วถึง
4. ปัญหาอุปสรรค  และการแก้ไขปัญหาที่ตามมา     
จากสภาพปัญหาที่พบในการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ  ของอำเภอเมืองร้อยเอ็ด  คณะทำงานในระดับอำเภอ  และระดับตำบล  ได้จัดให้มีการประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจแก่ครัวเรือน เป้าหมายโดยได้จัดเป็นทีมแก้จนในระดับอำเภอ  ร่วมกับทีมแก้จนระดับตำบล  รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จัดประชุมชี้แจงแก่ครอบครัวเป้าหมาย   แยกแยะอาชีพที่มีความต้องการอยากจะฝึกอบรมด้านอาชีพแต่ละด้าน   เช่น  มีความต้องการอยากฝึกอาชีพ  ด้านการเลี้ยงโค   เป็ด  ไก่  ปลูกพืช  ผักสวนครัวรั้วกินได้   หรืออาชีพหัตถกรรม   ศิลปกรรม  ผลิตภัณฑ์  OTOP  อาชีพอื่น ๆ   เพื่อเพิ่มรายได้  ตามความถนัดของแต่ละครอบครัว  เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริมให้ถูกต้องตามความต้องการ  และหาทางสนับสนุน  งบประมาณบางส่วน ที่เกินกำลังความสามารถของแต่ละสาขาอาชีพ  ตลอดจนชี้เป้าหมายให้หน่วยงานที่มีภารกิจรับผิดชอบโดยตรง  รับไปดำเนินการแก้ไขให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป
6.  สัมฤทธิผลที่ถือว่าเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่เกิดขึ้นแก่ครัวเรือน
              ครอบครัวตัวอย่างของอำเภอเมืองร้อยเอ็ด   คือครอบครัว  นายอนันต์   อ่อนพฤกษ์ภูมิ  ซึ่งเป็นครอบครัวที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขความยากจนได้  คือ  การใช้พื้นที่ดินที่มีอยู่  4  ไร่  3  งาน  ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด   โดยใช้แนวทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปใช้   ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า  สามารถสร้างงานสร้างอาชีพ   สร้างรายได้  ให้เกิดประโยชน์อย่างมาก   ทำให้เกิดรายได้แก่ครอบครัว  จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร  ได้อย่างน้อยวันล ะ  200  - 300  บาท  โดยเฉพาะทุกวันอังคารวันจัดตลาดนัดของหมู่บ้าน  จะมีรายได้  300  -  800  บาท  หรือบางวันถึง  1,000  บาท  
นอกจากผลผลิตทางการเกษตรแล้ว  ครอบครัวนายอนันต์   อ่อนพฤกษ์ภูมิ   เป็นครอบครัวที่มีความขยัน  ชอบใฝ่รู้เข้ารับการฝึกอบรมด้านการส่งเสริมอาชีพ  การทอผ้าไหม  - ผ้าฝ้าย  การแปรรูปจากผ้า  การทอเสื่อกก 
การจัดทำลวดหนามด้วยมือเป็นต้น   
นายอนันต์   อ่อนพฤกษ์ภูมิ   เป็นคนดี  มีอัธยาศรัยไมตรีเป็นอย่างดี   กับคนในชุมชนของตนเอง  และนอกชุมชน  รวมทั้งเป็นช่างจัดทำเหล็กดัด  ประตู  หน้าต่าง  รวมทั้งประตูรั้วบ้าน  ซึ่งมีเครื่องมือ  เครื่องใช้ครบถ้วนอยู่แล้ว  ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ไปจัดทำเหล็กดัด  และประตูหน้าต่างอยู่เสมอ  โดยเฉพาะบุคคลในหมู่บ้าน
ของตนเอง   และบ้านใกล้เคียงอย่างสม่ำเสมอ   นำมาซึ่งเป็นรายได้ให้แก่ครอบครัว  เป็นอย่างดี  จนขณะนี้   นายอนันต์    ได้เป็นบุคคลที่พอเพียง   มีการเพิ่มทักษะ พัฒนาฝีมือแรงงานให้เข้าสู่ระดับมาตรฐาน  มีการรวมกลุ่มสร้างพลัง  เกิดความเข้มแข็ง   มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ขอรับความช่วยเหลือจากทางราชการในด้านภาระหนี้สิ้นอีกแล้ว    เป็นครอบครัวที่อยู่ดีมีสุข  มีความพอเพียง    สามารถช่วยเหลือสังคมได้
7.  สรุปบทเรียนที่ได้   ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
7.1   เกิดจากความขยัน  มุมานะ  ตั้งใจ  เอาใจใส่  ใฝ่รู้  หมั่นศึกษาหาความรู้   พัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นคนเปิดตัวให้แก่สังคมอย่างจริงจัง
7.2    มีความตั้งใจจริง   มีความอยากที่จะมีอาชีพ  มีงานทำ  อยู่เสมอ  ไม่เป็นคนผัดวันหรือขอคิดดูก่อน   เป็นคนที่มีจิตใจแน่วแน่มุ่งมั่น   กล้าตัดสินใจจะทำสิ่งใดที่ตั้งใจไว้  และวางแผนไว้  จะต้องปฏิบัติในขณะนั้น  และเดี๋ยวนั้นเลย   งานจึงประสบผลสำเร็จ   เป็นรูปธรรมอย่างชัดเชน
7.3   การตัดสินใจ   เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ  เป็นอย่างยิ่ง  ความกล้าที่จะตัดสินใจ  ในการประกอบอาชีพ ที่มีความถนัด  จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ครอบครัวประสบความสำเร็จเป็นประการแรก   การเข้าหาแหล่งทุน  ที่พอจะสนับสนุน  ให้สามารถประกอบอาชีพประสบความสำเร็จ   จึงเป็นคุณสมบัติที่ดีของบุคคลที่กล้าตัดสินใจ  เพื่อความสำเร็จของครอบครัว
7.4   การพบปะปรึกษาหารือผู้ที่มีความชำนาญ หรือนักวิชาการในด้านต่าง  ๆ  เป็นแนวทางหนึ่งที่นายอนันต์   อ่อนพฤกษ์ภูมิ  ได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อเป็นแนวทางและวิธีการที่ถูกต้อง  ตามหลักวิชาการให้เกิดผลอย่างคุ้มค่าอย่างสูงสุด  และต่อเนื่องไป



วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/07/2008     

 

หน้าหลัก | เกี่ยวกับอำเภอดอทคอม | รายชื่ออำเภอ | เตรียมตัวไปอำเภอ | ติดต่อเจ้าหน้าที่

 

webmaster@dopa.go.th  โทร. 0-2282-1047-8, 0-2356-9564 FAX 0-2282-1048 
Copyright © 2003 By www.amphoe.com -> Best view is 800x600 Pixels ->Design by :