ค้นหา >

 

ค้นหา

 








ค้นหาอำเภอ >>  จังหวัด:    อำเภอ:  

อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี

 

 ชื่อโครงการ

สถานที่ติดต่อดูงาน

 ข้อมูลผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ (Best Pracitce)  ที่ว่าการอำเภอกบินทร์บุรี  โทร.037-288003
รายละเอียดโครงการ: 1.สภาพทั่วไปของครัวเรือนที่คัดเลือกมา
  เลขที่แฟ้ม 806 ลำดับที่ 17936 ชื่อ นางกุศล รีเบี้ยว
  เลขประจำตัวประชาชน 3-2504-00333-72-7
  วันเกิด 4 ธ.ค.2507 อายุ 41 ปี เพศ หญิง สถานภาพสมรส สมรส
  ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน บ้านเลขที่ 478 หมู่ที่ 6 ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
  สนท.ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน อำเภอกบินทร์บุรี
  ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ บ้านเลขที่ 478 หมู่ที่ 6 ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
  จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน จำนวนสมาชิกที่สามารถประกอบอาชีพได้ 2 คน
  รายได้ของผู้ยื่นคำร้อง 3,000 บาท/เดือน รวมรายได้ทั้งครัวเรือน 6,000 บาท/เดือน
  วุฒิการศึกษา ประถมศึกษา อาชีพ รับจ้าง
  สนท.ที่ลงทะเบียน อำเภอกบินทร์บุรี วันที่ลงทะเบียน 17 ก.พ.2547
2.สภาพปัญหาของครัวเรือนที่เป็นอยู่
  ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
  สาเหตุของการเป็นหนี้ กู้ยิมเงินจากนอกระบบมาสร้างบ้าน
  จำนวน 60,000 บาท ต้องเสียดอกเบี้ย 6,000 บาท/เดือน
  ความต้องการขอรับความช่วเหลือ
  - หาแหล่งเงินกู้ใหม่ดอกเบี้ยถูกเพื่อชำระหนี้เดิม
  - การขยายเวลาในการชำระหนี้
  - การจัดหาอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้
3.แนวคิดการจัดการแก้ไขปัญหา
  3.1 มุ่งความสำคัญไปที่ผู้จดทะเบียนและบุคคลที่ประสบปัญหาได้รัการแก้ปัญหาให้
       ครบถ้วน
  3.2 แก้ปัญหาโดยใช้แนวคิด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส
4.วิธีดำเนินการของ ศตจ.อ.ในการแก้ไขปัญหา
  4.1 เมื่อ นางกุศล รีเบี้ยว ลงทะเบียน ศตจ.อ.กบินทร์ บันทึกข้อมูล แยกประเภทปัญหา
       ความต้องการรายของ นางกุศล รีเบี้ยว เป็นปัญหาหนี้สินนอกระบบ
  4.2 อำเภอแจ้งหมู่บ้านสระดู่ หมู่ 6 ต.กบินทร์ จัดประชุมประชาคมตรจสอบข้อมูลที่นาง
       กุศล รีเบี้ยว มีหนี้สิน จากการตรวจสอบปรากฏว่า นางกุศล รีเบี้ยว เป็นหนี้นอกระบบ
       จำนวน 30,000 บาท
  4.3 ทีมงานคาราวานแก้จนของอำเภอต้องออกไปพบปะเยี่ยมเยียนครัวเรือนนางกุศล
        รีเบี้ยว พบว่ามีผู้อาศัยอยู่ 4 คน ทำงานหาเงินได้ 2 คน คือมีรายได้ทั้งครัวเรือน
        จำนวน 6,000 บาท/เดือน และจะต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 3,000 บาท ศตจ.อ.
        กบินทรบุรี เห็นว่าผู้ลงทะเบียนมีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน ใน
        ด้านการลดรายจ่ายของครัวเรือน โดยมีหนังสือเชิญเจ้าหนี้และนางกุศล รีเบี้ยว มา
        เจรจาไกล่เกลี่ยให้เจ้าหนี้ลดอัตราดอกเบี้ยและขยายเวลาการชำระหนี้ ซึ่งในการ
        เจรจาทั้งคู่ตกลงว่า ให้นางกุศล รีเบี้ยว นำเงินจำนวน 30,000 บาทมาคืน จะไม่คิด
        ดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ ศตจ.อ.กบินทร์บุรี ประสานธนาคารออมสิน ได้พิจารณาให้การ
        ช่วยเหลือ ซึ่งธนาคารออมสิน สาขากบินทร์บุรี ได้อนุมัติเงินจำนวน 30,000 บาท
        ตามสัญญากู้เงินสินเชื่อธนาคารประชาชน ทำที่ธนาคารออมสิน สาขากบินทร์บุรี
       เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548 ให้นางกุศล รีเบี้ยว ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ และนาง
        กุศล รีเบี้ยว มีหน้าาที่ต้องผ่อนชำระธนาคารออมสินเดือนละ 1,563 บาท เริ่มชำระ
       ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2548 ถึงสิ้นสุดภายในวันที่ 29 ตุลาคม 2550 สำนักงาน
       พัฒนาชุมชนอำเภอ  ดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาความยากจนเข้าถึงครัวเรือน โดย
       การพัฒนาตนเอง ด้านเศรษฐกิจแบบพอเพียงประหยัด เป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจ
       ชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน และประสานงานกับศูนย์พัฒนาฝีมือ
       แรงงาน จ.ปราจีนบุรี ฝึกอบรมอาชีพเสริมที่ต้องการต่อไป
5.ปัญหาอุปสรรค
   การติดต่อประสานงาน นัดเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างลุกหนี้กับเจ้าหนี้ต้องเสียเวลาไป
   กับการประสานงานมากเกินไป
6.สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ที่เกิดขึ้นแก่ครัวเรือน
   ครอบครัว นางกุศล รีเบี้ยว มีที่อยู่อาศัยและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 3,000 บาท โดย
   เสียดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสินร้อยละ 1.00 บาท/เดือน (ดอกเบี้ย 300 บาท + เงินต้น
   1,263 บาท) ทำให้มีเงินใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มขึ้น เดือนละ 2,700 บาท ทำให้
   ครอบครัวมีความสุข มีความอบอุ่น ไม่เครียด มีกำลังใจในการประกอบอาชีพ
7.สรุปบทเรียนที่ได้
  ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ในกรณีหนี้นอกระบบต้องมี
  เกณฑ์ที่สำคัญประกอบด้วย
  7.1 มุ่งความสำคัญไปที่ผู้จดทะเบียนและบุคคลที่ประสบปัญหาได้รับการแก้ปัญหาได้
       ครบถ้วน
  7.2 มีความเชื่อมโยงกับบทบาทหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน
       อำเภอ (ศตจ.อ.)
  7.3 มีจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจได้ง่าย
  7.4 ผู้บังคับบัญชาให้การยอมรับ
  7.5 ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยกาจนอำเภอ (ศตจ.อ.) สามารถที่จะควบคุมผล
        ให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติการได้
               การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องดำเนินการตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคลต่อไป ทั้นี้ เนื่องจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อม เช่นการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน ความจำเป็นของการใช้จ้านที่ไม่เท่ากับการกำหนดแนวทางแก้ไข จึงควรจำกัดขอบข่ายที่ชัดเน เช่น การจัดกลุ่มปัญหาที่คล้ายคลึงกัน การกำหนดมาตรการแก้ไขสำหรับบางพื้นที่เหมาะสม
              การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ควรได้รับการพิจารณาดำเนินการอย่างยั่งยืน มิฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะสามารถแแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบันได้ การใช้จ่ายยังจำเป็นต้องมีอยู่ตลอดเวลา หากไม่สามารถเพิ่มรายได้ให้เพียงพอแล้วก็เสมือนกับเป็นเพียงแค่การยืดเวลาการเป็นหนี้สินเท่าหนั้น ในอนาคตก็ยังคงต้องกลับเข้าสู่การเป็นหนี้สินเชิ่นเดิม การส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจะสามารถช่วยให้ลูกหนี้ช่วยเหลือตนเองได้ดียิ่งขึ้น และถือเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ยั่งยืนและมั่นคงตลอดไป
                                       .........................................................


วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/10/2008     

 

หน้าหลัก | เกี่ยวกับอำเภอดอทคอม | รายชื่ออำเภอ | เตรียมตัวไปอำเภอ | ติดต่อเจ้าหน้าที่

 

webmaster@dopa.go.th  โทร. 0-2282-1047-8, 0-2356-9564 FAX 0-2282-1048 
Copyright © 2003 By www.amphoe.com -> Best view is 800x600 Pixels ->Design by :